อำนาจหน้าที่

2885

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง นั้น เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหาร่วมสร้างร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลดงบังจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง       องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร นอกจากนั้นยังได้ เน้นการส่งเสริม และสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพโดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพ นั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่นและยังจัดให้ตั้งเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนรวม

             การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และรวบรวมกฎหมายอื่นของ อบต. ใช้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก SWOT องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา   โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น ๙ ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ ดังนี้

                     ๕.๑ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

(๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก (มาตรา ๖๗ (๑))

  • ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (มาตรา ๖๘ (๑))
  • ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา ๖๘ (๒))
  • ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา ๖๘(๓))
  • การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา ๑๖(๔))
  • การสาธารณูปการ (มาตรา ๑๖(๕))

๕.๒ ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา ๖๗(๖))

  • ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา ๖๗(๓))
  • ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ (มาตรา ๖๘(๔))
  • การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา ๑๖(๑๐))
  • การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา ๑๖(๒))
  • การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา ๑๖(๕))
  • การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา ๑๖(๑๙))

๕.๓ ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจ

                               ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา ๖๗(๔))
  • การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

     (มาตรา ๖๘(๘))

  • การผังเมือง (มาตรา ๖๘(๑๓))
  • จัดให้มีที่จอดรถ (มาตรา ๑๖(๓))
  • การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

     (มาตรา ๑๖(๑๗))

  • การควบคุมอาคาร (มาตรา ๑๖(๒๘))

๕.๔ ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว

                               มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา ๖๘(๖))
  • ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ (มาตรา ๖๘(๕))
  • บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา ๖๘(๗))
  • ให้มีตลาด (มาตรา ๖๘(๑๐))
  • การท่องเที่ยว (มาตรา ๖๘(๑๒))
  • กิจการเกี่ยวกับการพาณิช (มาตรา ๖๘(๑๑))
  • การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา ๑๖(๖))
  • การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา ๑๖(๗))

๕.๕ ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีภารกิจ

     ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๖๗(๗))
  • รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (มาตรา ๖๗(๒))
  • การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ (มาตรา ๑๗ (๑๒))

๕.๖ ด้านการศาสนา ศิลปะวัฒนาธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                             (๑) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา ๖๗(๘))

  • ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มาตรา ๖๗(๕))
  • การจัดการศึกษา (มาตรา ๑๖(๙))
  • การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนาธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (มาตรา ๑๗ (๑๘))

       ๕.๗ ด้านจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้                      

                       (๑) สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา ๔๕ (๓))

(๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร (มาตรา ๖๗(๙))

        (๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน (มาตรา ๑๖(๑๖))

             (๔) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา ๑๗(๓)

         (๕) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (มาตรา ๑๗ (๑๖))

             ภารกิจทั้ง ๗ ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถจะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ

 

๖. ภารกิจหลัก และภารกิจรองที่ อบต. จะดำเนินการ

 

ภารกิจหลัก ที่จะต้องดำเนินการ ดังนี้

               ๑. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

               ๒. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

               ๓. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

               ๔. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               ๕. ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร

               ๖. ด้านการส่งเสริมการศึกษา

               ๗. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ภารกิจรอง ที่จะต้องดำเนินการ ดังนี้

               ๑. การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี

                 ๒. การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ

                 ๓. การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร

                ๔. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน

แนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล

          ประกอบด้วย ๖ แผนงาน ดังนี้

             ยุทธศาสตร์ ๑ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

       ๑. วัตถุประสงค์

- เพื่อแก้ไขปัญหาการคมนาคมในตำบลดงบัง ให้มีการคมนาคมที่สะดวกขึ้น

- เพื่อทำการบำบัดและระบายน้ำออกนอกหมู่บ้าน

- เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้กันอย่างทั่วถึงในตำบลดงบัง

                ๒. เป้าหมาย

- ตำบลดงบังมีถนนคอนกรีตทุกพื้นที่

- วางท่อระบายน้ำในตำบลดงบัง

- เพื่อให้มีไฟฟ้าทุกหมู่บ้านอย่างทั่วถึง

     ๓. แนวทางการดำเนินงาน

- จัดทำการก่อสร้างถนนคอนกรีต

- จัดวางท่อระบายน้ำในตำบลดงบัง

- ทำการติดตั้งและขยายเขตไฟฟ้า ในตำบลให้ทั่วถึง

          ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

             ๑. วัตถุประสงค์

- เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

- เพื่อให้ราคาผลผลิตของประชาชนในตำบลดงบังมีราคาสูงขึ้น

- เพื่อจัดหาแหล่งเงินทุนให้ราษฎร

- เพื่อให้ประชาชนในตำบลดงบังมีงานทำและมีอาชีพรองรับ

- เพื่อให้ประชาชนได้รับเมล็ดพันธ์พืชพันธ์ปลาอย่างพอเพียงและทั่วถึง

             ๒. เป้าหมายการพัฒนา

- ให้ประชาชนมีความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองได้

- ให้ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยอย่างน้อย ๒๐,๐๐๐ บาท / คน / ปี

- ขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธ์พืช พันธ์ปลาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง

                 ๓. แนวทางดำเนินงาน

-   ส่งเสริมอาชีพให้ราษฎร

- ให้ความรู้กลุ่มอาชีพในการประกอบกิจกรรมหรืออาชีพอื่น ๆ

- จัดหาเมล็ดพันธ์พืช, พันธ์ปลา,วัคซีนป้องกันโรคสัตว์แก่ประชาชน

             ยุทธศาสตร์ ๓ การพัฒนาด้านคนและสังคม

                 ๑. วัตถุประสงค์

- เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

- เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และห่างไกลยาเสพติด

- เพื่อให้ประชาชนมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น

- เพื่อให้ประชาชนรู้จักการอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมไว้สืบไป

- เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย

- เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองในระบอบประชาธิปไตย

- เพื่อให้เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

       ๒.   เป้าหมายการพัฒนา

- กำหนดให้ตำบลดงบังเป็นตำบลสุขภาพดีถ้วนหน้า

- กลุ่มเด็ก,เยาวชนและประชาชนทั่วไปปลอดยาเสพติด

- ประชาชนในตำบลดงบังมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

- ประชาชนทุกกลุ่มมีความสนใจด้านศาสนาและวัฒนธรรม

- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 100 %

- แกนนำประชาคมทุกหมู่บ้านมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

       ๓. แนวทางดำเนินงาน

- จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปโดยการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวและ-   รณรงค์โรคไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนู ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์

- สนับสนุนน้ำยาเคมีจากองค์การบริหารส่วนตำบลทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๑ ลิตร

- จัดวางท่อระบายน้ำทุกหมู่บ้านตามถนนคอนกรีตสายต่าง ๆ

- จัดหาถังขยะให้ครบทุกหลังคาเรือน

- จัดการแข่งขันกีฬาประจำตำบล

- อบรมเยาวชนตำบลดงบัง ในเรื่องการต้านยาเสพติดทุกหมู่บ้าน

- ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบให้แก่ประชาชนทั่วไป

- ฟื้นฟู รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมให้คงอยู่ตลอดไป

             ยุทธศาสตร์ ๔ การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ

                 ๑. วัตถุประสงค์

- เพื่อให้ประชาชนมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ

- เพื่อให้ประชาชนในตำบลดงบัง มีน้ำอุปโภค บริโภคตลอดปี

- เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในแต่ละฤดูกาล

                 ๒. เป้าหมาย

- ประชาชนทุกหมู่บ้านมีน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ

- ประชาชนทุกครอบครัวมีน้ำดื่ม ๕ ลิตร / คน / วัน

- ประชาชนในตำบลดงบังร่วมมือกันแก้ไขภัยแล้งเบื้องต้น

                 ๓.   แนวทางการดำเนินงาน

- ทำการขุดลอกแหล่งน้ำที่ตื้นเขิน

- ขุดแหล่งน้ำเพิ่มเติม

- เจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ตำบลเพิ่มขึ้น

- จัดหาที่เก็บน้ำดื่มส่วนกลาง

- ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ป่า

ยุทธศาสตร์ การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารงาน

๑. วัตถุประสงค์

- เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย รัฐธรรมนูญ

- เพื่อให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง

                ๒. เป้าหมาย

- ประชาชนในตำบลดงบังปลอดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ๑๐๐% ในปี ๒๕๖๐

- ในการจัดเวทีประชาคมอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง

- มีการประชาสัมพันธ์โดยเวที อบต. สัญจร

                ๓.   แนวทางการดำเนินงาน

  • ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โครงการจัดอบรมสาธิตการเลือกตั้ง และให้ความรู้แก่ประชาชน
  • จัดเวทีประชาคมทุก ๆ เดือน และการรายงานความก้าวหน้าเป็นรายเดือน
  • อบต. สัญจรตามความเหมาะสม

 

ยุทธศาสตร์ ๖ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑.   วัตถุประสงค์

- เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

                ๒.   เป้าหมาย

- สนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอนุรักษ์ป่า โครงการสีเขียว และ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

                ๓.   แนวทางการดำเนินงาน

- ให้ความรู้ประชาชน ตระหนักถึงผลดี ผลเสีย ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

- ทำแนวเขตป้องกันการบุกรุก


พิมพ์   อีเมล