สารจากนายก

สารจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง

SAO 1

เรียน พี่น้องตำบลดงบังที่เคารพทุกท่าน

           กระผม นายชัยณรงค์ ทองยศ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง จึงได้กำหนดนโยบายในการบริหารงานและพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับช่วงระยะเวลา ๔ ปี นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยยึดถือยุทธศาสตร์จังหวัด ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาภาค แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นหลักในการกำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาที่สอดคล้องกับปัญหาในเขตพื้นที่ รวมทั้งความต้องการในการพัฒนาทุก ๆ ด้าน โดยมุ่งเน้นการสานต่อภารกิจที่ได้ดำเนินการไว้ให้ต่อเนื่อง และพร้อมที่จะพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและได้กำหนดนโยบายในการบริหารไว้ ๘ ด้าน ได้แก่       ๑.ด้านการเมืองการปกครอง  ๒. ด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ  ๓. ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร  ๔.ด้านสังคมการมีส่วนร่วมของชุมชน      ๕.ด้านการศึกษา  ๕.ด้านการศึกษา ๖.ด้านศิลปะวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๗.ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๘. ด้านสาธารณสุข

        กระผมพร้อมทีมงานพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตำบลดงบังของเราจากทุกๆท่าน เพื่อจะนำข้อเสนอแนะต่างๆ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นจากทุกๆ ท่าน เพื่อจะนำข้อเสนอแนะต่างๆ ไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนมีความอยู่ดีมีสุขยิ่งๆ ขึ้นไป  _>>>รายละเอียดเพิ่มเติม คลิ๊ก >>>> 

55c0aff1

 

สมาชิกสภา

สมาชิกสภา : องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง


   Prasert  
                                                       

นายประเสริฐศิลป์ พวงศรีเคน

ประธานสภา

เบอร์โทร 09-3962-1317

                                                       
 6 1                                                        
10 1

นายชำนาญ แก้ววิเศษ

รองประธานสภา

เบอร์โทร 08-8736-9834

 

นายอำพร เชาว์จันทร์

เลขาสภา

เบอร์โทร 083-3363735

1 1 1    sta

นางกุหลาบ  ล่อดงบัง

สมาชิกสภา (ม.1)

เบอร์โทร 09-0840-4185

 

 

นายเสถียร พาราศรี

สมาชิกสภา (ม.2)

เบอร์โทร 09-8238-7233

 3_1-1.png   buntum

นางพิมพา  สอนสีดา

สมาชิกสภา (ม.3)

เบอร์โทร 09-03342659

 

นายบุญถม แสนมี

สมาชิกสภา (ม.4)

เบอร์โทร 06-4917-5707

5_11-1.png     6 1

นายปริญญา  วงษ์นอก

สมาชิกสภา (ม.5)

เบอร์โทร 09-7336-5844

 

นายชำนาญ แก้ววิเศษ

 สมาชิกสภา (ม.6)

เบอร์โทร 08-8736-9834

 lamai    Prasert

 นางละมัย พันธ์มหา

สมาชิกสภา (ม.7)

เบอร์โทร 08-7953-7944

 

นายประเสริฐศิลป์ พวงศรีเคน 

สมาชิกสภา (ม.8)

เบอร์โทร 09-3962-1317

   sangdown  
 

นายแสงดาว  สุรสาร

สมาชิกสภา (ม.9)

เบอร์โทร 09-3543-2663

 

 
     
 

 

 

 

ประวัติ ความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาตำบลดงบัง


 2

            บ้านดงบัง เดิมเป็นป่าดงหนาทึบมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ ช้าง บ่าง ชะนี กระรอก เป็นต้น มีหลักฐานอ้างอิงไว้ ดังนี้

          - ด้านทิศตะวันออกของบ้านห่างประมาณกิโลเมตรเศษมีหนองน้ำแห่งหนึ่งมีชื่อว่า หนองแก่นช้าง อยู่ติดกับห้วยวังดู่ซึ่งเป็นลำห้วยใหญ่และลึกมีน้ำขังตลอกฤดูกาล สันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยของช้างจำนวนมากปัจจุบันกลายเป็นที่นาของชาวบ้านหลายเจ้าด้วยกัน

          - ด้านทิศตะวันตกของบ้านดงบัง ติดกับบ้านหนองพอก ปัจจุบันมีหนองน้ำแห่งหนึ่งมีน้ำขังตลอดปี มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ อยู่ใกล้กับลำห้วยวังหล่อง หนองนี้ชื่อ หนองซำซ้าง เนื่องจากมีช้างป่ามาอาศัยกินน้ำ เล่นน้ำ เกลือกโคลนตม ปัจจุบันเป็นที่นาของนางตู้ หมอแคนเสาร์ เจ้าของนาได้รักษาให้มีรูปหนองให้เห็นอยู่ตรงกลางและมีน้ำขังตลอดปี เจ้าของนาจึงทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา จนปัจจุบันยังคงเรียกว่า หนองซำซ้าง อยู่เหมือนเดิม

            เมื่อประมาณปี พ.ศ.2300 มีคนกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ พบที่แห่งนี้เป็นป่าทึบ เหมาะสำหรับการทำไร่ทำนาจึงได้ชวนกันปักหลักอาศัยอยู่ที่ชายป่า ชื่อว่า บ้านโนนเก่าน้อย และเป็นที่ทำกินจนมีเนื้อที่เพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์รวมของจิตใจ ชื่อว่าวัดทุ่ง มีหลวงพ่อแป้น เป็นสมภารพอสิ้นบุญของสมภารแป้น อยู่มาได้ระยะหนึ่งวัดได้ร้างไม่มีพระจำพรรษา ชาวบ้านจึงได้มารวมกับวัดโพธาราม บ้านดงบัง (วัดโพธิ์ทองบ้านดงบัง)

             หลังจากชาวคุ้มบ้านโนนเก่าน้อย ได้อาศัยอยู่รวมกันเป็นแหล่งและมีจำนวนครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นทำให้ชาวบ้านต้องขยายที่ทำกินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมีคนกลุ่มหนึ่งอพยพไปบุกเบิกที่ทำกินห่างจากที่อยู่เดิม ประมาณ 20 เส้นตั้งเป็นคุ้มบ้านเรียกว่า บ้านโซ่งกระฮอก เพราะบริเวณนี้มีกระรอก อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันบ้านนี้เรียกว่า บ้านหนองพอก พร้อมได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นมาตั้งชื่อว่า วัดท่าใหญ่ มีพระชานนท์ เป็นเจ้าอาวาส จากนั้นมีชาวคุ้มโนนเก่าน้อยอีกกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาบุกเบิกป่าหนาทึบ แล้วสร้างบ้านเรือนขึ้นลางป่าซึ่งหากมองจากทางทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือและใต้ ไม่เห็นบ้านเลยเมื่อเข้ามาถึงกลางบ้านแล้วจึงรู้ว่ามีบ้านอาศัย คนที่มาเห็นจึงรู้ว่าบ้านนี้มีดงบดบังอยู่ จึงพากันเรียกว่า บ้านดงบัง ซึ่งคำว่าดงบัง อีสาน เรียกป่าหนาทึบ ว่า ดง เรียกที่กั้นมองไม่เห็นว่า บัง

               เมื่อบ้านดงบังได้ตั้งบ้านขึ้นใหม่ๆ ชาวบ้านมีความเดือดร้อนจากการถูกสัตว์ป่ารบกวน ชาวบ้านเล่าว่า คอกสัตว์ต้องทำอย่างแน่นหนา แม้แต่หมาก็ต้องเอาขึ้นไปอาศัยบนบ้านด้วย เพราะหากไม่ทำอย่างนั้นอาจโดนเสือกัดกิน อย่างไรก็ตามก่อนนั้นสัตว์เลี้ยวได้ถูกเสือกินโดยเฉพาะหมาได้ถูกเสือลาก ไปกินทางด้านตะวันตกของบ้านอยู่เป็นประจำ จนที่แห่งนั้นชาวบ้านเรียกว่า โซ่งหัวหมา  

 

               เมื่อชาวบ้านเกิดความเดือดร้อนอย่างนั้น จึงได้ร่วมกันสร้างหลักบ้าน หรือศาลเพียงตาขึ้น โดยชาวบ้านได้ทำไม้เป็นหอก ปืน หน้าไม้ ดาบ เพื่อเป็นการตัดไม้ข่มนามหากมีการเดือดร้อนจากสัตว์ก็ร่วมกันสาปแช่ง โดยมีตาพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี หลังจากนั้นชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดเป็นศูนย์รวมใจ ชื่อวัดโพธิ์ทอง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดโพธาราม จนถึงปัจจุบัน วัดนี้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตำบลมาจนถึงปัจจุบัน การศึกษา ครั้งแรกยังไม่มีโรงเรียน พ่อแม่สอนลูกเองในครอบครัวโดยสอนเกี่ยวกับเรื่องจารีตประเพณีการทำมหากิน ต่อมาได้มีวัดโดยพระสอนพระภิกษุ สามเณรในวัด โดยมีพระปลัดคำศิษย์หลวงปู่จันดี เป็นผู้นำสอน โดยท่านเองได้ไปเรียนต่อที่เมืองศรีภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

               อย่างไรก็ตามชาวบ้านในสมัยนั้นยังสนใจในการศึกษาน้อย จนถึงปีที่ทางราชการได้มีพระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติขึ้นมาราชการ ได้จัดตั้งโรงเรียนที่วัดโพธาราม โดยตั้งชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลวัดบ้านดงบัง 1 การก่อสร้างโรงเรียนมีหลวงปู่จันดีเป็นผู้นำ มีพระปลัดคำเป็นครูใหญ่คนแรก นายหม่อง เหลาแสง นายเครื่อง ทองยศ

             จนถึงปี พ.ศ. 2509 สมัย นายทรงศิลป์ เหลาแสง ได้ร่วมกับพระครูพิสัยนวการ เจ้าคณะอำเภอในสมัยนั้นได้พร้อมใจกันหาที่ตั้ง แห่งใหม่ และได้ที่ทิศตะวันออกของสัดเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนชุมชนบ้านดงบัง

              ในปี พ.ศ.2533 โดยการนำของนายโสภณ ยอดวงษ์กอง กำนันตำบลดงบัง นายทรงศิลป์ เหลาแสง ครูใหญ่โรงเรียนชุมชนบ้านดงบัง พระครูพิสัยนวการ เจ้าคณะอำเภอ สภาตำบลดงบัง ได้ยื่นหนังสือต่อโรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ เพื่อแสดงเจตนาต้องการโรงเรียนมัธยมประจำตำบล โดยทางตำบลยินดีให้การสนับสนุนสถานที่ตั้ง ต่อมาทางกรมสามัญได้อนุมัติให้ทางโรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ได้ตั้งโรงเรียนสาขาที่ดงบังตามความประสงค์ของชุมชน โดยมี นายสุรศักดิ์ ศิริ เป็นผู้ประสานงาน สามารถเปิดทำการสอนได้ในเดือนพฤษภาคม 2534 พร้องตั้งชื่อโรงเรียนว่า ดงบังพิสัยนวการนุสรณ์  

 1

 

ประวัติตำบลดงบัง


      องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง เดิมเป็นสภาตำบลดงบัง ประมาณปี 2540 ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง โดยทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาในประกาศนั้น

 - องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ตั้งอยู่ที่บ้านยางสะอาด หมู่ที่ 2 ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากตัวอำเภอนาดูน ประมาณ 10  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดมหาสารคาม ประมาณ  65  กิโลเมตร  เนื้อที่โดยประมาณ  23  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 14,375  ไร่

 9

 


 

footter22 ok 1024

 

ติดต่อ-สอบถาม

              
contact u

 

 ok22 400

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง

156 หมู่ที่ 2 ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 44180

โทรศัพท์ : 0-4399-3026
Fax : -
e-mail :

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

website : http://www.dongbanglocal.go.th
                  Facebok  https://www.facebook.com/dongbangSAOoffice

From Address:

วิสัยทัศน์ สโลแกน

วิสัยทัศน์


 logo องค์กรที่ดีชุมชนที่น่าอยู่ ควบคู่เทคโนโลยี มีหน่วยการลงทุน และเป็นสังคมแห่งคุณภาพ

สโลแกน


 ยิ้มแย้มแจ่มใส เต็มใจบริการ ทำงานฉับไวปราศรัยไพเราะ เหมาะสมโอกาส ไม่ขาดน้ำใจ  ok 400 bg

 


 

banner footer2